วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น ปัจจุบันเป็นปัญหาสำคัญหาหนึ่ง เนื่องจากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประเพณี วัฒนธรรมทางสังคม รวมทั้งความเชื่อทางเพศที่ผิดๆ ดังนั้นการเรียนรู้ และเข้าใจผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ต่อพฤติกรรมทางเพศจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการสร้างความตระหนักในตนเอง ตลอดจนการใช้วิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 
 
๑.  ความหมายของการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
              การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  หมายถึง  สถานการณ์ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีการวางแผนการณ์จะให้เกิดขึ้น การไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคุมกำเนิดการถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ก่อนการสมรส ตลอดจนความไม่พร้อมในด้านภาวะต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ การไม่รับผิดชอบของบิดาของเด็กในครรภ์ เป็นต้น  
๒.  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
              พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในช่วงชีวิตของวัยรุ่น อันก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
๒.๑  การเปิดโอกาสแก่ตนเองและผู้อื่น
              การเปิดโอกาสต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมีหลายประการ เช่น การเที่ยวกลางคืนในสถานเริงรมย์ต่างๆ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และรับอาหารจากคนแปลกหน้า การเดินทางตามที่เปลี่ยว มืด สถานที่ไม่ปลอดภัย การไว้วางใจเพื่อน คนรัก หรือบุคคลแปลกหน้ามากเกินไปโดยไม่ไตร่ตรอง กระตุ้นอารมณ์ทางเพศตามสื่อต่างๆ ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาศตร์และเทคโนโลยี การใข้ยาและสารเสพติด เป็นต้น
๒.๒ การเปิดเผยอารมณ์ทางเพศ
             การเปิดเผยอารมณ์ทางพศ หมายถึง พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศแก่ผู้พบเห็น เช่น การเปิดเผยสัดส่วนร่างกายด้วยการสวมเสื้อผ้ารัดรูป โชว์สัดส่วนจนเป็นที่สะดุดตาและยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ หรือการแสดงพฤติกรรมที่ยั่งยวนด้วยกิริยาวาจาที่แสดงความพึงพอใจ สนใจ เรียกร้อง เชื้อเชิญต่อเพศตรงข้าม ตลอดจนการใข้ยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นความสามารถทางเพศของตน 
๒.๓ ความเชื่อทางเพศที่ผิด
            ความเชื่อทางเพศที่ผิด มีผลต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ครั้งเดียวไม่อาจตั้งครรภ์ได้ การคุมกำเนิดไม่ควรใช้กับคนรัก ความสามารถใน้รื่องเพศเป็นตัววัดความเป็นลูกผู้ชาย การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นเรื่องธรรมดา ผู้หญิงและผู้ชายมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ ผู้ชายไม่มีความจำเป็นต้องรับผิดชอบภายหลังมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์หลายคู่หลายคน ถือว่าเป็นผู้มีความสามารถ เป็นต้น 
๒.๔ สถาบันครอบครัว
           ครอบครัวเป็นสังคมแรกที่ปลูกฝังความรัก ความเข้าใจ คุณธรรม จริยธรรมอก่บุคคลในครอบครัว การขาดการอบรมเลี้ยงดูที่ดี ความแตกแยกในครอบครัว การขาดความรัก การดูแลเอาใจใส่ซึงกันและกัน ทำให้วัยรุ่นมักมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อครอบครัว และมักจะปลีกตนเอง หรือไปคบเพื่อนซึ่งอาจชักชวนกันไปในทางที่ผิดๆ ได้
๓.ปัญหาและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
          การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะหญิงหรือชายหรือเกิดขึ้นเฉพาะฝ่ายเดียว กรณีเมื่อฝ่ายหญิงถูกข่มขืน หรือฝ่ายชายไม่รับผิดชอบ ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวมีผล ดังนี้
๓.๑ ปัญหาทางด้านร่างกาย
          ผู้ที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ส่วนใหญ่พบว่ามีอายุยังน้อย ซึ่งมีสภาพร่างกายที่เจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ หรือไม่พร้อมกับสภาพของการตั้งครรภ์ จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และอัตราเสี่ยงต่อการตาย และการเจ็บป่วย เช่น การที่กระดูกเชิงกรานเล็กเกินไปไม่สามารถคลอดโดยวิธีธรรมชาติได้ การขาดความรู้ และความพร้อมต่อการเตรียมตัวเป็นมารดา เป็นต้น ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย เติบโตช้า พัฒนาการทางสมองหยุดชะงัก การคอลดก่อนกำหนอ เป็นต้น
๓.๒ ปัญหาทางด้านจิต
          การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่ เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่มีการวางแผนมาก่อน ทั้งนี้อาจเกิดจากความรักสนุก ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความประมาท หรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้สร้างความวิตกกังวล ความเครียด ความอับอาย เสียใจ เศร้าใจ กลัวการถูกประณาม การไม่ยอมรับจากครอบครัว สังคม และฝ่ายชาย ซึ่งมีผลต่อภาวะการตั้งครรภ์ในฝ่ายหยิง ตลอดจนความต้องการที่จะทำแท้งด้วยวิธีการต่างๆ นอกจากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้ว อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น การตกเลือดหรือเสียชีวตได้ ส่วนวัยรุ่นชายเช่นกัน มักเกิดความเครียด ความวิตกกังวล ความกลัวว่าผู้อื่นจะทราบเรื่องต่อการทำความผิดของตนจากยาติ เพื่อนฝูง หรือยาติฝ่ายหยิง ถ้าทราบเรื่งแล้วจะเอาผิดตามกฎหมายได้ กลัวภาระการผูกมัดระหว่างกัน การเรียกร้องของฝ่ายหยิง โดยผลกระทบทางจิตใจนี้จะส่งผลต่อการเรียน เช่น หยุดเรียน เสียการเรียน การเรียนตกต่ำ เป็นต้น
๓.๓ ปัญหาทางด้านครอบครัวและสังคม
          การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวและสังคมได้ เนื่องจากสภาพความไม่พร้อมของบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบทั้งสองฝ่าย หรือการที่ฝ่ายหญิงต้องรับสภาพเพียงฝ่ายเดียว ปัญหาการปรับตัว ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่น ฐานะ การอบรมเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน วุฒิภาวะ ความรับผิดชอบ การถูกทอดทิ้ง การทะเลาะเบาะแว้ง ย่อมให้เกิดปัญหาภายในครอบครัวตลอดจนการหมดโอกาสในการเรียนต่อ เพราะต้องรับภาระหน้าที่ความเป็นพ่อหรือแม่ก่อนวัยอันควร ซึ่งมีผลต่อการสร้างรากฐานการดำเนินชีวิตตามสังคมที่ยอมรับได้ 
๔. การหลีกเลี่ยงการป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
         การหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์จากปัญหาและผลกระทบดังกล่าว นักเรียนจึงควรปฏิบัติตน ดังนี้
๔.๑ การปิดโอกาสต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
         การปิดโอกาสต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ เช่น การไม่เที่ยวเตร่ตามสถานเริงรมย์ต่างๆ การไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ การไม่คบหาบุคคลแปลกหน้า การไม่เดินในที่เปลี่ยวและมีอันตราย การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต การเลือกคบเพื่อนที่ดีเป็นต้น
๔.๒ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง  ของตนเอง
         การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง เช่น การแต่งกายรัดรูป การเปิดเผยสัดส่วนในที่สาธารณชน ตลอดจนการแสดงออกทางด้านกิริยา ท่าทางที่ยั่วยวนไม่เหมาะสม เช่น การ๔กเนื้อต้องตัว โดยการโอบ การกอด การจูบ เป็นต้น
๔.๓ รู้จักทักษะการปฏิเสธ
         การรู้จักการปฏิเสธ เป็นการช่วยลดความต้องการทางเพศได้ เช่น คำว่า "ไม่ หยุด อย่า" ทั้งนี้ต้องเป้นการปฏิเสธที่มาจากความตั้งใจจริงที่จะหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองมากกว่าการเสแสร้งยั่งยวนหรือส่งเสริมอารมณ์ทางเพศมากขึ้น ดังนั้น ทักาะการปฏิเสธจะต้องทำด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ เข้มแข็ง และมีความมั่นคง พร้อมทั้งการแสดงท่าทางในการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ขณะนั้น เพื่อเปลี่ยนกิริยาท่าทางการแสดง หรือความรู้สึกทางเพศที่เกิดขึ้นให้ผ่อนคลาย หรือหมดไป
๔.๔ รู้จักทักษะการต่อรอง
         การปฏิเสธเพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจไม่เกิดผล การรู้จักการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีโดยรู้จักการต่อรองด้วยวิธีการต่างๆ อาจจะโดยเสนอกิจกรรมอื่นๆ ที่ดีกว่า เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงเหตุการณืเฉพาะหน้า เช่น การขอไปเปิดโทรทัศน์ขณะที่กำลังถูกเพื่อนชายโอบกอด การหลีกเลี่ยงการอยู่สองคนตามลำพัง โดยการไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เป็นต้น
๔.๕ รู้จักการคุมกำเนิด
         การคุมกำเนิดเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ การคุมกำเนิดมีหลายวิธ๊ การรู้จักเลือกวิธีในการควบคุมกำเนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมความสะดวกของแต่ละคน แต่การรู้จักการคุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย เป็นวิธีการที่สะดวกประหยัด ได้ผลดีทั้งการป้องกันการตั้งครรภ์ และการปลอดภัยจากโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์แต่ขณะเดียวกัน การรู้จักวิธีการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะถุงยางอนามัยที่หมดอายุ และวิธีการใช้ไม่ถูกต้อง อาจก่อปัญหาขึ้นได้
๔.๖ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัว
         ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัว เป็นการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่สำคัญอย่างหนึ่งของวัยรุ่น ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลในครอบครัวจะสร้างความรัก ความผูกพัน ความเข้าใจ ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับวัยรุ่น ตลอดจนการยึดมั่นเรื่องการรักนวลสงวนตัวก่อนถึงการแต่งงาน ก็จะช่วยลดพฤติกรรมที่เสี่ยงได้    
 

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของวัยรุ่น

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
  • น้ำหนักและส่วนสูง จะมีอัตราเพิ่มสูงสุด (growth spurt) เด็กหญิงจะมีน้ำหนักเพิ่มถึงปีละ 4-5 กิโลกรัม เด็กชายเพิ่มปีละ 5-7 กิโลกรัม ความสูงมีอัตราเพิ่มสูงสุดเช่นกัน โดยเด็กหญิงจะสูงปีละ 6-7 เซนติเมตร เด็กชายสูงปีละ 7-9 เซนติเมตร
  • การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อและกระดูกแขนขา มีอัตราเพิ่มสูงสุดเช่นกัน มีการเพิ่มประมาณของโปแตสเซียมในร่างกาย ปริมาณน้ำในเซลล์ ขนาดของปอด หัวใจ ปริมาณของเม็ดเลือด และฮีโมโกลบิน
  • การเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์และการเกิดลักษณะเพศ มีลำดับดังนี้
ในเด็กหญิง
มีการเจริญเติบโตของเต้านม เริ่มอายุ 9-11 ปี
ขนที่หัวหน่าว เริ่มอายุ 11-12 ปี
น้ำเมือกจากช่องคลอดเปลี่ยนฤทธิ์จาก
ด่างเป็นกรด
เริ่มอายุ 11-12 ปี
ขนรักแร้ เริ่มอายุ 12-14 ปี
ประจำเดือนครั้งแรก เริ่มอายุประมาณ 12 ปี
 
ลักษณะเพศอย่างแรกที่เปลี่ยนแปลงให้เห็นได้ในเด็ก หญิง คือ การเจริญเติบโตของเต้านมโดยการเกิด breast buds คือ การเจริญของหัวนมและลานนม และหลังมีประจำเดือนแล้ว เด็กหญิงจะสูงขึ้นได้อีกประมาณ 6-12 เซนติเมตร ( ดูรูปที่ 1 )
ในเด็กชาย
มีการเพิ่มของขนาดลูกอัณฑะและถุงอัณฑะ เริ่มอายุ 10-12 ปี
ต่อมลูกหมากเริ่มทำงาน เริ่มอายุ 11-12 ปี
นมแตกพาน เริ่มอายุ 13-14 ปี
มีขนที่หัวหน่าวและรักแร้ เริ่มอายุ 14-16 ปี
เสียงห้าว เริ่มอายุ 14-16 ปี
ตัวอสุจิโตเต็มที่ เริ่มอายุ 14-16 ปี
 
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างแรกในเด็กชาย คือ การเพิ่มขนาดของลูกอัณฑะและอัณฑะ ตามด้วยการเพิ่มขนาดขององคชาต และต่อมลูกหมาก ( รูปที่ 2 )